ฮาบูนะ: เส้นทาง วิตามิน ซี

วิตามิน ซี ถูกค้นพบขึ้นมาเพราะ โรคลักปิดลักเปิด

➡️ 1550 ปีก่อนคริสตศักราช – เอเบอร์ พาไพรัส

เอเบอร์ พาไพรัส ได้ค้นพบโรคลักปิดลักเปิด จึงแนะนำวิธีรักษาให้กินหัวหอม ซึ้งมีสารประกอบของวิตามิน ซีบางส่วน

➡️ 400 ปีก่อนคริสตศักราช – ฮิปโปเครตีส อธิบายโรคลักปิดลักเปิด

ฮิปโปเครตีส คือ แพทย์ในยุคกรีก เป็นที่รู้จักในนามบิดาแห่งแพทย์ตะวันตก ได้ให้คำจำกัดความว่า โรคลักปิดลักเปิด จะทำให้หายใจไม่ออก เหงือกย่น เลือดออกทางจมูก

➡️ 1535 – ชาวอินเดียเสนอวิธีรักษาโรคลักปิดลักเปิด

ในหน้าหนาว ที่ แม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ภายในเรือสำรวจของ ฌัก การ์ตีเย ซึ้งภายในเรือมีอาหารจำกัด แต่แล้วก็เกิดโรคลักปิดลักเปิดภายในลูกเรือ ณ เวลานั้น ชาวอินเดียได้เสนอวิธีรักษาโรคด้วยกา นำเปลือกต้นไม้ท้องถิ่นมาแช่กับน้ำแล้วดื่ม ผลปรากฏว่าสามารถรักษาโรคได้

➡️ 1747 – ความเกี่ยวข้อง ระหว่าง โรคลักปิดลักเปิด กับ ส้ม

เจมส์ ลินด์ ศัลยแพทย์กองทัพเรือชาวอังกฤษ ได้เลือกลูกเรือ 12 คนที่เป็นโรคลักปิดลักเปิด แล้วแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม จากนั้นให้แต่ละกลุ่ม กินผลไม้ที่ต่างกันทุกวัน ผลปรากฎว่ากลุ่มที่กินส้ม หายจากโรคลักปิดลักเปิด

➡️ 1795 – ปริมาณส้มต่อวัน

กิลเบิร์ต เบลน นายแพทย์กองทัพเรือชาวอังกฤษที่มีอิธิพล ต่อกองทัพ ได้ตั้งกฎให้ลูกเรือ ดื่มน้ำส้มให้เพียงพอทุกๆวัน หลังจากนั้น ทหารเรือชาวอักฤษก็ไม่พบโรคลักปิดลักเปิดอีกเลย

➡️ 1880 – มะนาว

อิทธิพลของ ชาวอังกฤษในทะเลแคริบเบียน ได้แนะนำให้กินมะนาว แทน เลมอน และ ส้ม เพราะ มะนาวสามารถหาได้ง่ายกว่า

➡️ 1907 – หนูตะเภาและกะหล่ำปลี

นักชีวเคมีชาวนอร์เวย์ เอกซ์เซล โฮลส์ กับ อัลเฟรดเมอร์รี่ ได้ทำการทดลองให้เห็นว่า เมื่อหนูตะเภอถูกห้ามไม่ให้กินอาหารที่มีสารสำคัญ (วิตามินซี) ทำให้หนูตะเภาเป็นโรคลักปิดลักเปิด จากนั้น ก็ลองให้หนูกิน กะหล่ำปลี ผลปรากฎว่าโรคได้หายไป จากการทดลองนี้ทำให้นักชีวเคมีพยายามที่จะหา สารอาหารที่มีผลต่อการรักษาโรค

➡️ 1928 – กรดแอสคอร์บิก

นักชีวเคมีชาวฮังการี่ อัลแบรต์ เซนท์-จเยอร์จยี ได้แยกสารประกอบจาก น้ำในพืชและเนื้อเยื่อสัตว์ และตั้งชื่อสารประกอบนั้นว่า กรดแอสคอร์บิก จากนั้นอีก 4 ปีถัดมา เขาสามรถพิสูจน์ ได้ว่า สารนั้นมีส่วนในการป้องกันโรคลักปิดลักเปิด ที่ถูกค้นพบใน ปี 1907 โอย เอกซ์เซล กับ อัลเฟรด

➡️ 1932 – กรดแอสคอร์บิก

นักเคมี ชาวอังกฤษ วอลเตอร์ ฮาเวิร์ท ได้กำหนดโครงสร้างโมเลกุลของกรดแอสคอร์บิก และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรดแอสคอร์บิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ วิตามินซี หลังจากนั้น วอลเตอร์ ได้นำทีมวิทยาศาสตร์ เพื่อทำการสร้าง วิตามินซี สังเคราะห์

➡️ 1937 – รางวัลโนเบล

อัลแบรต์ เซนท์-จเยอร์จยี ได้รับรางวัลโนเบล ทางด้าน สรีรวิทยา หรือ การแพทย์ สำหรับการค้นพบ วิตามิน ซี และ วอลเตอร์ ฮาเวิร์ท ได้รับรางวัล ทางด้าน นักเคมีนำวิจัยด้าน คาร์โบไฮเดรต และ วิตามิน

➡️ 1970 – โรคไข้หวัด

หนังสือวิตามิน ซี และ ไข้หวัด ของ ไลนัส พอลิงได้ตีพิมพ์ออกไป ทำให้คนจำนวนมากเชื่อว่าวิตามินซีสามารถป้องกัน และรักษาโรคไข้หวัดได้

➡️ 2007 – ค้นหาขั้นตอนที่หายไป

นักวิทยาศาตร์ ที่ศูนย์วิจัย พืชและอาหารได้รายงานถึง ขั้นตอนการสร้างวิตามิน ซี จากพืชที่หายไป และยังมีการวิจัยด้วย กีวีประเภทต่างๆ เพื่อทำการแยกแอนไซม์ตัวสุดท้ายที่อยู่ในวิตามินซี

???? รู้หรือไม่!! วิตามิน ซี ยังสามารถหาได้จาก สตรอเบอร์รี่ อีกด้วย

????ฮาบูนะจำหน่าย ผง ”ผัก ผลไม้” ฟรีซดราย แท้ 100 % ไม่มีส่วนผสมของ น้ำตาล สารกันบูด สีผสมอาหาร

สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ผ่านช่องทาง

Shopee: https://shopee.co.th/habuuna

Lazada: https://www.lazada.co.th/shop/habuuna-shop